วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ช่วงวัยในการแสดงออกทางด้านศิลปะของเด็ก (ตามธรรมชาติ)


อายุ 2-4 ขวบ


 เรียกช่วงวัยนี้ว่าศิลปะแบบขีดเขีย  และเด็กวัยนี้จะพยายาม ฝีกความเคยชินกับอุปกรณ์และวัสดูนิดต่างๆ มีการใช้มือและการเคลื่นไหวกร้ามเนื้อ

ช่วงขีดเขี่ย ทันทีที่เด็กจับดินสอเป็น เขาจะเริ่มขีดเขี่ย ขีดเขียนไปทุกที่ ถ้าเป็นกระดาษหรือพื้นผิวที่ทำให้ดินสอเขียนติด เด็กก็จะเขียนลงไปบนนั้น ไม่ได้แสดงถึงสิ่งใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นความ ทำความคุ้นเคยกับวัสดุที่เขาจับต้อง
บางครั้งหากถูกถามว่าวาดรูปอะไรก็คิดตั้งชื่อภาพนั้น เดี่ยวนั้น

บ่อยครั้งที่เด็กๆรุ่นราววัยนี้จะชอบเขียนลงบนกำแพงและฝาบ้าน และพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็สั่งห้ามไม่ให้เขียน เพราะพวกเขาเหล่านั้น กลัวกำแพงบ้านแสนสวนเลอะเทอะ ซึ่งการห้ามและดุด่านั้นทำให้ เป็นการกีดกั้น ความต้องการ และจินตนาการของเด็ก และเป็นครั้งแรกที่จะลดทอน ความมั่นใจของเด็กในการสร้างสรรค์งานศิลปะลง

ข้อแนะนำ
         พ่อแม่และผู้ปกครอง ไม่ควร ดุด่าและขวางกั้นจิตนนาการของเด็กอย่างนั้น แต่ควรจะหาเศษกระดาษ และสี หรือ อุปกรณ์วาดภาพ  ให้เด็กเริ่มฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อมือของเขา และเริ่มฝึกฝนให้เขาใช้จิตนาการของเขา และผู้ปกครองควร เป็นฝ่ายรับฟังว่าเขาต้องการเสนออะไรเกียวกับภาพเขียนของเขาดวยการช่วยส่งเสริมทางอ้อมโดยการพูดคุย หรือซักถามสิ่งที่เขาวาดลงไป ว่าคือ สิ่งใด คืออะไร มีชื่อไหม หรือ ลูกเคยเห็นที่ไหนมา นี่เป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกของท่าน เป็นคนมั่นใจในตนเอง และเป็นเด็ก ช่างสังเกตุ




อายุ 4 -6 ขวบ

เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
 เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว  วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ  ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
 เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา  ช้าง


                                                    
  อายุ 7-8 ขวบ


     ช่วงที่พ้นจาการเป็นเด็กเล็ก เริ่มเข้าสู่ความเหมือนจริงตามตาเห็น
 เมื่อเด็กๆ เริ่มผ่านประสบการณ์ในวัยเด็กเล็ก เด้ก็เริ่มสังเกตุแง่มุมใหม่ๆ ของวัตถุชิ้นเดียวกัน ซึงจะส่งผลอิทธิพลต่อรูปทรงหรือแม้กระทั่งรูปแบบของสัญลักษณ์นั้น ยกตัวอย่างเช่น
หน้าคนที่ตอนแรกจะวาดเป็นรูปวงกลมใหญ่ๆกับวงกลมเล็กๆ สองวงแทนลูกตาทั้งสองข้าง ซึ่งต่อมาก็เริ่มมีปากและก็จมูก ปากกับจมูกอาจจะเป็นแค่เส้นเล็กๆสองเส้น เส้นหนึ่งตั้งและเส้นหนึ่งนอน
และเมื่อถึงเวลาของมัน รายละเอียดส่วนอื่นก็เริ่มปรากฎขึ้น เช่น หู ผม คอ เมื่อเด็กพัฒนาการสังเกตุด้วยตาที่จะรู้จักมองวัตถุด้วยความเป็นจริง รายละเอียดเหล่านี้จะดูเหมือนจริงมากขึ้น
ความเหมือนจริงตามตาเห็นนี้ อาจจะมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงและจนถึงขั้นนี้ เด็กจะมีลักษณะที่อยู่ในโลกส่วนตัวขงตัวเอง ทุกอย่างที่เขามองเห็นหรือสัมผัสรู้ ถูกตีความด้วยการเอาตัวเองเห็นหลัก  ตอนนี้เขาเริ่มสัมผัสสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงและโลกของเขาเริ่มซับซ้อนมากขึ้น เขาจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และเขาจะเริ่มออกมาจากโลกของตัวของตัวเอง
               เด็กในวัยนี้จะเริ่มวาดรูปที่มาจากนินทาน หรือตัวการ์ตูน ที่เขาเริ่มดูและอ่าน

อายุ  9-10ขวบ

ช่วงเวลาออกจากโลกจิตนาการ เริ่มมองเห็นความเหมือนจริงมากขึ้น
เด็กๆพยายามทำทุกอย่างแบบเดียวกับที่ผู้ใหญ่ในชีวิตของเขาทำ ไม่ใช่เพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ แต่เพราะเขาต้องการจะเก่งเท่าผู้ใหญ่ กรณีของการทำงานศิลปะเด็กจะเป็นตัวของตัวเองต่อไป ตราบเท่าที่เขายังไม่เริ่มมองเห็นโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น การรับรู้โลกภายนอกจะส่งปลกระทบต่อแรงจูงใจที่เขาเริ่มแสดงออก
         ในขั้นนี้เด็กจะรู้สึกขาดกำลังใจอย่างที่เคยมีในช่วงแรกๆของการแสดงออกทางด้านศิลปะ เขาจะคาดหวังให้ตัวเองวาดรูปได้เหมือนที่ผู้ใหญ่วาด (เด็กจะเริ่มคิดแต่อาจจะยังทำไม่ได้)  

 อายุ 11-14  ปี

ช่วงต้นของความเป็นวัยรุ่นกับความสับสน

 อายุ หลัง 14ปีขึ้นไป

ช่วงแห่งความเป้นไปได้ ของการฟื้นฟู ความสามารถในเชิงศิลปะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น