วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมองสองซีก





ความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ที่ต่างกัน ถูกควบคุมด้วยสมองแต่ละซีก โดย

สมองซีกซ้าย จะควบคุมความคิดที่มีเหตุผล เช่น ตัวเลข ภาษา การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

สมองซีกขวาจะควบคุมทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ เช่น ดนตรี ศิลปะ กีฬา เป็นต้น

ศิลปะเด็กในสวนบ้านเพลิน 2012


น้องวิน อายุหกขวบกว่า
ในชัวโมงศิลปะ การทำงานของน้องวินเริ่มมีการปล่อยวางกับสิ่งที่ผิดพลาดบางแล้ว แกจะไม่ค่อย ซีเรียดเหมือนครั้งก่อนๆมา ทางด้านเทคนิด น้องเขายังเป็นเด็กที่สนใจกับเทคนิคใหม่ๆเสมอ โดยเฉพาะครั้งสุดท้ายที่เจอ น้องวินทำงานศิลปะ โยเอาเทคนิค ของครูฝรัง (ครูใคร่ สอนบางอย่างในการทำกิจกรรม เหมือนเอาน้ำยาทาสีเล็บกับกากเพชรผสมกัน ) น้องวินยังคงสนุกกับคาบของครูไคร่ เลยเอาเทคนิคน้ำยาทาสีเล็บ มาวาดรูป



 ส่วนภาพวิว ที่น้องวิน ชอบวาดในตอนนี้ หากสังเกตุดีๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของต้นไม้ที่เป็นฉากหน้า งครั้งโดนตัด บางครั้ง ต้นไม้เต็มต้น มีความเหมือนและแตกต่าง เปลี่ยนแปลงในรูปภาพเดียวกัน







น้องหยก อายุ 6 ขวบกว่าๆ
        


















  เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
 เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว  วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ  ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
 เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา  ช้าง

เรื่องม้าลาย
ม้าลาย ไปเดินเล่นกับเพื่อนแล้วหลงป่า มันก็ถูกขังในห้องตลอดเวลา มันก็หลงเข้าไปในโลกอมยิ้ม ก็เจออมยิ้มที่น่ากิน มันก็เลยกิน อมยิ้มมันมีพิษก็เลยสลบ
จากรูป ในรูปสิ่งที่เรามองเห็นเป็นรูปธรรมคือ พระอาทิตย์กับอมยิ้ม ส่วนอื่นที่เป็นรูปกากบาทสีส้มคือคอกม้าทีมีม้าลายอยู่ในนั้น บางส่วนของรูปที่เป็นนามธรรมถูกแท่งสีชอล์กแท่งใหญ่ๆระบายทับลงไป รูปที่เป็นนามธรรมเลยกลายเป็นรูป กึ่งนามธรรม (Semi abstract)     ในส่วนของเนื้อเรื่องที่น้องหยกเล่า อาจะมาจากการ์ตูนหรือหนังหรือนิทาน  แต่การผูกเรื่องตัวละครของน้อง มีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวละคร (เนื้อเรื่องที่แต่งมีประธาน กริยา กรรมและส่วนขยาย)








น้องเนม อายุ 7 ขวบ


                จากกงานที่น้องเนม ทำงานศิลปะในวันแรก เขาจะเป็นเด็กที่ระมัดระวังสูง เช่นเวลาการระบายสี น้องจะระมัดระวังมาก ในการเจอกับผู้สอนครั้งแรก จนรู้สึกเกร็งๆในห้องห้องเรียน และทำงานได้ล่าช้ากว่าเด็กคนอื่น (การทำงานล่าช้าไม่ใช่ผลเสีย) เพียงแต่ระมัดระวังในการทำงาน

                น้องเนม ใช้เทคนิคเดียวกับ ศิลปินที่ชื่อ Pollock ในการเขียนรูป คือค่อยๆหยดสีลงบนกระดาษและหมุนไปรอบๆ

แจ็คสัน พอลล็อก (อังกฤษ: Jackson Pollok) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันยุคศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้นำขบวนการเขียนภาพแนวแอบสเตรค (Abstract-expressionism) พอลล็อกได้รับสมญานามว่า แจ๊ค เดอะ ดริปเปอร์ (Jack The Dripper) โดยใช้วิธีการเทสี หรือสาดสีลงบนผืนผ้าใบ ด้วยผลงานที่น่าสนใจ และวิธีการซึ่งเป็นเอกลักษณ์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียง และผลงานของเขาหลายๆชิ้นมีราคาสูงหลายล้านดอลล่าร์และปัจจุบันเป็นภาพเขียนที่มีการซื้อขายที่มีราคาสูงที่สุดในโลก
สิ่งที่น่าจะเหมือนกัน คือ ทั้งคู่ ค้นพบเทคนิคนี้โดยบังเอิญ

















น้องเพลิน อายุ 6 ขวบกว่าๆ



น้องเพลินพยายามคิดอยู่นานว่าจะเขียนอะไรดีบนแผ่นกระดาษ โดยเธอใช้ผืนทรายในการคิด ตอนแรกเธอก็ไม่กล้าจะวาดรูปนี้ลงบนกระดาษ เธอ แอบๆวาด ผู้สอนเลยบอกให้เธอวาดภาพนี้บนกระดาาก็ได้เธอเลย ยอมวาดงานของเธอลงบนแผ่นกระดาษ






















ผลงานน้องเพลิน รูปนามธรรม



Wassily Kandinsky คือจิตรกรชาวเยอรมัน เชื้อชาติรัสเซีย ผู้ให้กำเนิดศิลปะด้านพลังของอารมณ์ในแนวนามธรรม (abstract expressionism) Kandinsky เกิดที่ Moscow ประเทศรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1866 ในครอบครัวที่มีฐานะดี เพราะสนใจกฎหมาย เศรษฐกิจ และการเมือง จึงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Moscow และสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 27 ปี จากนั้นได้งานเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และในเวลาเดียวกันก็มีงานอดิเรกเป็นนักดนตรีสมัครเล่นด้วย   
สิ่งที่คล้ายกันของการทำงานของน้องเพลินและคาเนนสกี้ คือการใช้สีดำตัดเส้น บนกระดาษขาว แล้วค่อยระบายสีตามใจชอบ ภาพทั้งสองภาพเป็นภาพในแนวนามธรรม
มีบางครั้งที่ผู้สอนสังเกตว่า น้องเพลินบางครั้งยังไม่ค่อยมั่นใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ จึงเป็นสิ่งที่ผู้สอนและผู้ปกครองสมควรอย่างยิ่งที่จะให้กำลังใจ และกล่าวคำชมทุกๆครั้งที่น้องทำผลงานออกมา

















ผิงผิง 6 ขวบกว่าๆ

เป็นช่วงแห่งการใช้สัญลักษณ์และตั้งชื่อรูป
 เด็กๆในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งชื่อภาพเขียนของเขา และเริ่มเชื่อมโยงรูปที่เขาวาดกับวัตถุจากโลกที่อยู่รอบตัว  วัตถุที่อยู่คุ้นเคยรูปที่เขาวาดจะไม่เหมือนวัตถุชิ้นนั้น แต่จะบอกว่าเหมือน เขาสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาในใจ  ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ไม่ได้มีความสำคํญในระยะยาว เพราะรูปๆเดียวกันอาจหมายถึงสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป
 เริ่มแรก เด็กเหล่านี้จะตั้งชื่อ สิ่งที่เขาวาดเป็นชิ้นๆ เช่น ท้องฟ้า นก ผีเสื้อ ปลา  ช้าง
          แต่สำหรับผิงผิงแล้ว สามารถแต่งเรื่องประกอบภาพเป็นประโยคได้แล้ว

          เรื่องม้าโพนี่





รูปนี้เป็นรูปท้ายชั่วโมงของศิลปะครั้งที่สอง ที่ผิงผิงเรียนกับผู้สอน
ตอนนั้นผิงผิงมองไปที่กระดาษทิชชู่ และน้องหยิบกระดาษทิชชู่ เอามาทดลองเทคนิคที่อยากทำ คือการเอาทิชชู่จุ่มสีแล้วปั๊มลงไปบนกระดาษ ตามรูป มันอาจจะไม่เป็นภาพที่น่าเตะตาสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่  แต่ทว่า มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ สำหรับเด็กๆที่เรียนศิลปะในคาบเดียวกับเธอทั้งหมด น้องเป็นผู้นำบทเรียน ท้ายคาบเด็กๆทุกคนอยากเอากระดาษทิชชู่มาทำงานศิลปะแบบผิงผิง















ปิ้นปิ้น อายุ 8 ขวบ



















น้องสาวไหม เด็กตัวเล็กๆ พูดเก่งๆ อายุ 8 ขวบ






อ่านว่า สาวไหม 
ตัวแรกเป็นงู เพราะ S มาจาก snake แล้ว a ตัวที่2 กับตัที่ 5 เป็นมดเพราะมาจาก ant 
ตัว m เป็นลิงมาจาก monkey
ตัวสุดท้าย i เป็นรูปบ้านน้ำแข็งของชาวเอสกิโม igloo
ตัว o ตัวที่สาม เป็นปลาหมึกเพราะมันคือ octopus


วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บันทึกประสบการณ์การสอนศิลปะเด็ก



น้องวินอายุหกขวบกว่าๆ มีความมันใจในการทำงานศิลปะมาก มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าตลอดว่าจะทำงานศิลปะอะไร และความมั่นใจสูง และสามารถทำงานศิลปะครั้งละ่หลายๆชั่วโมงหากไม่มีสิ่งเร้าอย่างอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจเสียก่อน ตอนเผลอๆขณะทำงานศิลปะจะมีเสียงเพลงเปล่งออกมาจากริมฝีปากเป็นครั้งคราว

จุดด้อย ของน้องวินในช่วงแรกๆคือการซีเรียสกับเรื่องเล็กๆน้อย ตอนหลังเริ่มสังเกตุเหตุว่า มีคำพูดว่า  ไม่เป็นไรขึ้นมาบ้าง



 วันที่ 7 /5 /2012
ภาพวาดสีฟ้าของน้องวิน ที่ใช้เทคนิค กาวผสมสีฟ้าแล้ว เทราดบนกระดาษขาว หลังจากนั้น ใช้ปลายภู่กัน ขูดลงไปบนกระดาษให้เป้นรูปตามต้องการ น้องวินเขียนภาพภายใต้หัวข้อเรื่องรถไฟโบราณ






วันที่ 8/5/2012

ตอนเช้าก่อนมาเรียนศิลปะ น้องวิน น้องวินเดินทางไปสถานนีรถไฟกับทางบ้านเพื่อไปรับอาม่า จึ่งเป้นเหตุบังเอิญให้น้องวิน ได้เข้าไปเรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับรถไฟ และนำมาไอเดียมาเขียนเป็นภาพ เรื่องรถไฟสมัยใหม่ ด้วยลายเส้นดินสอ (จริงๆแล้วภาพนี้น้องวินเขียนรถไฟยาวมาก ยาวไปถึงด้านหลังของแผ่นกระดาษ

    
   ความแตกต่างเรื่องรถไฟสมัยใหม่และสมัยเก่าที่น้องวินเล่าให้ฟัง


 รถไฟสมัยเก่า

1 มีหวูดข้างบน

2สมัยก่อนเดินข้ามตรงข้อต่อรถไฟไม่ได้

3สมัยเก่ามีล้อฉึกฉัก

4ด้านบนโบกี็จะมีกล่องยื่นขึ้นมา

5สมัยก่อนด้านหน้ารถจักรจะมีไฟยืนขึ้นมาหนึ่งดวง

6สมัยก่อนใช้ถ่าน เพราะเขาขนถ่านมา

7สมัยก่อนมีหน้าต่างกระจก แต่เปิดปิดไม่ได้


รถไฟสมัยใหม่

1 ไม่มีหวูด

2 สมัยใหม่คนข้ามข้อต่อของรถไฟได้

3สมัยใหม่มีล้อแตกต่างกัน

4ด้านบนเรียบ

5สมัยใหม่มีไฟสองดวง

6สมัยใหม่จะใช้ไฟ้ฟ้า

ึ7หน้าต่างสมัยใหม่จะเปิดปิดได้





วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอน (อันนี้จะมีต่อเรื่อยๆ)

     อันที่จริงแล้วกิจกรรมการสอนศิลปะเด็ก โดยทั่วไปแล้ว มีหนังสือที่ออกจากระทรวงศึกษาเยอะแยะ แต่สิ่งที่เราต้องปรับก็คือ ตัวบุคคลากรผู้สอน ให้มีความเข้าใจเด็ก และศิลปะของเด็กให้มากขึ้น ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ เข้าใจธรรมชาติ และช่วงวัย อายุของพวกเขา ก่อนเริ่มทำกิจกรรมศิลปะกับเด็กๆ
ซึ่งจริงแล้วไม่ยากมากมายเกินความใส่ใจ หากเริ่มต้นด้วยความรักที่จะสอน  โดยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มองโลกใบนี้ด้วยสายตาของพวกเด็กบ้าง และให้เข้าใจด้วยว่าศิลปะเด้กไม่ได้มุ่งเน้นไปเพื่อความสวยงามเสียอย่างเดียว หากแต่ ยึดถือการสร้างสรรค์ของเด็กเป็นหลัก รับฟังสิ่งที่หัวใจดวงเล็กๆต้องการนำเสนอ มาในศิลปะแบบเด็กๆบ้าง เพราะเขา เพิ่งเติบโตมาสู่โลกใบนี้ไม่นาน เขาเหล่านั้นไม่ได้มองโลกใบนี้ด้วยสายตาแบบผู้ใหญ่ เขากำลังมองโลกใบนี้ด้วยสายตาแห่งจินตนาการ และความรู้สึก ที่ไม่เหมือนจริง
 การสอนนั้นผู้สอนต้องมีความคิดที่ยืดหยุ่นเป็นอย่างสูง  เพราะคุณอาจจะกำลังกระโดดลงสู่ทะเลและห้วงมหาสมุทรแห่งจิตนาการ  ลืมโลกใบนี้ไปซะ
นอกจากการหากิจกรรมการสอนจากหนังสือทีพิมพ์และวางขายทั่วไป ผมชอบการสังเกตุการทำงานศิลปะของเด็กคนหนึ่งเพื่อไปออกแบบกิจกรรมการสอนได้ด้วย เพราะ

ผมยึดหลักที่ว่า ในขณะที่เราสอนเขา เขาก็กำลังสอนเราอยู่เหมือนกัน แม้นกระทั่งว่าเขาจะบอกเราโดยอัตโนมัตว่า เราต้องสอนเขาอย่างไร


กิจกรรมการสอน

1  การเขียนภาพตามจิตนาการ
 กิจกรรมนี้ผมชอบใช้ในครั้งแรกทุกครั้งที่เจอเด็กใหม่มาเรียนศิลปะ แค่เตรียมแผ่นกระดาษ เอสาม หรือเอสี  ดินสอ ยางลบ แล้วส่งให้เด็กวาด ตามใจชอบ มันจะเป็นช่วงเวลาแรกที่คนสองคนที่ไม่เคยเจอะเจอกันเลยได้ทำความรู้จักัน ผ่านการพูดคุยทางภาพเขียน โดยเด็กสามารถแสดงความคิดของเขาได้อย่างเต็้มที่ โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้เดินแกะรอยภาพเขียนนั้น หรือย่างมากผู้สอนเป็นได้แค่ตำแหน่งของผู้ให้คำปรึกษาเด็ก
   โดยให้คำนึงไว้ว่าเด็กยิ่งเล็กยิ่งมีจิตนาการสูงและจิตนาการของเด็กแต่ละคนก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันถึงแม้นบางครั้งภาพเขียนบางคราวอาจจะใช้ สัญลักษณ์เดียวกัน


ตัวอย่างงานศิลปะเด็ก




วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

หนังสือเกียวกับศิลปะเด็ก แนะนำ

















พูดกันเรื่อง วัสดุ อุปกรณ์

นักศึกษาศิลปะ เคยถามผมบ่อยๆว่า ควรใช้สีหรืออุปกรณ์แพงๆในการสร้างสรรค์ศิลปะแล้วจะดีไหม ในเมื่อศิลปินรุ่นใหญ่เขาใช่กัน และมันคงทนอยู่ได้นาน

"สำหรับการสร้างสรรค์แล้วผมอยู่เหนืออุปกรณ์นั้นๆ"
ผมตอบ

งานศิลปะที่ดี ไม่ได้เกิดจากอุปกรณ์แพงๆ งานศิลปะของบางศิลปินใช้อุปกรณ์ราคาถูกแยอะแยะที่ปํจจุบั้นแสดงอยู่ในหอศิลป์และประมาณค่าไม่ได้
เราสามารถเขียนรูปจากอุปกรณ์ทุกๆอย่างได้ จากสิ่งของใกล้ตัว จากเศษไม้จุ่มหมึก จากถ่านหุงต้ม จากแก้วกาแฟยามเช้า หรือแม้นวัสดุอื่นๆอีกมากมาย

 อยู่ให้เหนือุปกรณ์เอาไว้

แต่ผมใช่ว่าจะปฏิเสธอุปกรณ์แพงๆเสียที่เดียว หากคุณมีเงินจะจ่ายหรือลงทุนก็ไม่ว่ากัน

นั่นสำหรับนักศึกษาศิลปะ

  แต่หากสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองจะกล่าวเช่นั้นเลยก็ดูเป็นการยากลำบากเกินไป ผมเลยอยากแนะนำอุปกรณ์เบื้องต้นที่ราคาไม่แพงมากนักและเกรดที่ดีสักหน่อยที่หาได้ตามท้องตลาดดังนี้


อุปกรณ์เบื้องต้น ที่ควรมีสำหรับเด็ก

1 ดินสอ สำหรับร่างรูป HB ธรรมดา คือดินสอที่เด็กใช้เขียน ก ไก่ ข ไข่นั้นแหละ ที่ราคาไม่แพงนัก

2  ยางลบ ที่เหลาดินสอ  ไม้บรรทัด กระดานรองเขียน ตัวหนีบ สีไม้ สีเมจิก  ยี่ห้ออะไรก้ได้

3  กระดาษ  อาจจะซื้อเป็นเล่มมีขายทั่วไป อันนี้ไว้สำหรับวาดรูปและลงสีไม้ หรือ สีเมจิก
  แต่
อีกกระดาษ ที่อยากแนะนำ คือ กระดาษร้อยปอนด์ เป็นเล่มก็ได้หรือแบ่งขายก็ได้ หากเป็นเล่มราคา     ป ร ะ มาณ  100  บาท 
หากเป็นแผ่นแยกขายประมาณแผ่นละ สิบแปดบาท ขนาด a1 หรือประมาณขนาดหนังสือพิมพ์กางออก









4 สีน้ำ โดยทั่วไปแล้วสีน้ำ สำหรับเด็กบ้านเราที่วางขายทั่วไปแล้วราคาถูกมาก แต่เกรด ก็ต่ำมากๆจนเด็กเล็กนำมาทำงานศิลปะแล้วไม่ค่อยดี เพราะบางที สีก็จับกันเป็นก้อน ระบาย ยาก จนส่วนนี้ผู้ปกครองก็ไม่ทราบกัน
 สำหรับผมแล้วผมแนะนำ สีนำ้ฮีห้อ รีฟ หรือ ตราหมาจุด แต่ออกจะแพงไปสักนิด แต่คิดไปแล้ว ผู้ปกครองที่สามารถอ่านบทความนี้ทางอินเตอร์เน็ตคงไม่แพงเกินไป ราคาปํญจุบัน18 สีอยู่ที 320 บาท











5 จานสีนำ้ ที่เหมาะสำหรับ สีนำ้ราคาข้างบน เป้นจานสีนำ้แบบพับเก็บได้ ราคา 100บาท

6 พู่กัน แนะนำ ญี่ห้อตอนี้น่าจะเป็น พูกันกลม ของสง่ามายุระ หรือไทยแหลมทองก็ได้ อาจจะมีเบอร์ 2 4
6 8 10 12

7 สีชอล์คนำ้มัน จะดีกว่าสีเทียนทีราคาถูกแต่ระบายไม่ได้

8 สีโปสเตอร์ อาจจะเป็นตราสิงโต ตราหมา หากเกรดดีๆแต่แพงสักหน่อยก็น่าจะซากุระ  แต่หากเด็กไม่ถึง  มัธยมสี่ก็ไม่แนะนำ
 หรือทีจริงแล้ว  ในส่วนของสีโปสเตอร์อาจจะใช้สีทาบ้านแทนก็ได้ หากเด็กมีจำนวนเยอะ เพราะคุณภาพใกล้เคียงกัน







สุดท้ายสิงที่สำคํญส่วนไหนประหยัดได้ ก็น่าจะประหยัด คุณอาจจะรวย แต่ประเทศเราไม่ได้ร่ำรวย
 และจริงๆแล้วอะไรก็เอามาใช้เขียนรูปได้
ุุุ

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

หลักการสอนศิลปะแบบ ZEN

หลักการสอนแบบ ZEN    คือการสอนแบบไม่สอน

หลักการสอนศิลปะแบบเซนมี  สามประการ ดังนี้
 1 ไม่สอนโดยตรง
2 ไม่บอกคำอธิบาย ชี้นำแบบยัดเยียด
3 ไม่ยึดรูปแบบ กฏเกนณ์ ระเบียบข้อบังคับ ชนิดตายตัว


     




 หัวใจของการสอนแบบ ZEN
คือ การสอนแบบไม่ยึดมั่น โดยเนื้อแท้แล้ว วิธีการสอนแบบ Zen  ขึ้นอยู่กับการสร้าง "โอกาส"
ของการเรียนรู้ รู้แจ้งภายในจิตใจ ของผู้เรียน อย่างฉับพลัน ซึงอาจจะเป็นนการเรียนรู้ที่เกิด จาก การสอนของครูหรือ เกิดจากการค้นพบ ด้วย ตัวของผู้เรียนเองได้
 ดังนั้น  หลักการสอนศิลปะแบบเซ็นจึงไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ หรือ ผลงานสำเร็จ แต่คุณค่า ทีแท้ นั้นขึ้นอยู่กับ จิตใจและความเชื่อมั่น ในการแสดงออกอย่างอิสระเสรี เพื่อปลูกฝังให้เกิดความรัก ความเข้าใจในคุณค่าของศิลปะ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม